Transcript for:
หน้าที่เด็กในยุคดิจิทัล

เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน แต่ยุคดิจิทัลแบบนี้หน้าที่ 10 อย่างไม่พอแล้วนะคะ ต้อง 10+8 เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน หนึ่ง…นับถือศาสนา สอง…รักษาธรรมเนียมมั่น คิดว่าในยุคนี้หน้าที่ 10 อย่างยังพอไหม ? คิดว่าน่าจะยังไม่พอ พอไหมเอ้ ? น่าจะพอ คิดว่าพอนะคะ 10 หน้าที่ ถ้าเป็นยุคนี้ คิดว่าอาจจะไม่พอ มันมีอะไรที่ล้ำเข้ามาเยอะมาก สวัสดีค่ะ ดิจิทัลไทยแลนด์ กับ เอิ้น ปานระพี เพื่อรู้ทั่นยุคดิจิทัล เพราะเราทุกคนอยู่ในยุคดิจิทัลกันแล้วนะคะ หลายๆคนเคยได้ยินเพลงนี้มาตั้งแต่เด็กๆใช่ไหมคะ นี้ก็คือเพลง หน้าที่เด็ก หรือหลายๆคนเรียกกันติดปากว่า เพลง เด็กเอ๋ย เด็กดี ได้ยินกันมานานนะคะ ซึ่งเพลงนี้ก็จะช่วยให้เด็กๆได้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพนั้นเอง แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลหลายๆอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเด็กหรือว่าผู้ใหญ่ก้ต้องเรียนรู้กันใหม่กับการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลค่ะ หลายๆอย่างก็เป็นเรื่องใหม่หน้าที่เด็ก 10 ประการชักจะไม่เพียงพอส่ะแล้วนะคะ และเรื่องกำลังเป็นที่พูดถึงกันมากในโลกออนไลน์ กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล หรือว่า Digital Citizenship เพื่อให้เราใช้ชีวิตกันอยู่บนโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าเด็กหรือว่าผู้ใหญ่ ความเป็นพลเมืองดิจิตอล หรือ Digital Citizenship คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัว ให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลนั่นเองค่ะ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากนะคะ เพราะทุกวันนี้บนโลกโซเซียลก็มีเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง อย่างข่าวปลอมต่างๆที่ เอิ้นก็เตือนกันอยู่เรื่อยๆ การหลอกลวงบนโลกออนไลน์ หรือจการแสดงความคิดเห็นต่างๆบนโลกโซเซียล ที่หลายๆคนโพสต์ข้อความต่างๆระบายความในใจกันสุดพลัง แต่ลืมนึกไปว่าข้อความที่เราโพสต์ไปนั้นอาจจะไปทำให้ทั้งตัวเองและคนอื่นเสียหายได้นะ และท้ายสุดตัวเรานี้และคะที่จะเดือดร้อน เราในฐานะพลเมืองดิจิทัลจะต้องทำยังไงละ มาค่ะ!! เอิ้นมีทักษะ 8 ด้านในการเป็นพลเมืองดิจิทัล มาฝากค่ะ และนี่ก็คือ ทักษะ 8 ด้านในการเป็นพลเมืองดิจิทัล จากหนังสือของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง ความฉลาดทางดิจิทัล นะคะ 1. ทักษะการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง หรือ Digital Citizen Identity พูดให้เข้าใจกันแบบง่ายๆก็ คือ การรักษาภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของเราในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และ การกระทำ นั่นเองค่ะ แต่! ต้องให้สอดคล้องกับชิวิตจริงในโลกจริงของเราด้วยนะคะ อย่าโพสต์อะไรในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเพื่อสร้างภาพเกินจริง เพราะอาจมีปัญหาตามก็ได้ค่ะ อย่างเช่นเหตุการณ์แบบนี้เป็นต้นค่ะ แหม่ !! อิ๋วโอนี่ในโลกออนไลน์นี่เริ่ดหรูและดูดีจริงๆเลย โพสต์แต่ละทีคนอิจฉากันทั้งโซเชียล ! แต่เดี๋ยวก่อน !! มาดูเบื้องหลังการถ่ายทำกันซะหน่อย อะเฮ้ย !!! เป็นไงล่ะ !! สร้างภาพเกินจริงจนเดือดร้อนเลย แบบนี้ไม่ผ่านนะคร๊าาาบ เห็นไหมค่ะ การพยายามจะเป็นในสิ่งที่จริงๆแล้วตัวเองไม่ได้เป็นนั้น ไม่ได้สร้างความสุขเลย จริงไหมค่ะ เพราะตัวเราก็รู้อยู่แก่ใจ ดังนั้นการจะรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเรา ควรทำบนพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิตเราดีที่สุดค่ะ แบบนี้สิใช่เลยยยยย !!! เอาไปเลย 3 ผ่านนนนนน !!! 2.ทักษะในการการจัดสรรเวลาหน้าจอ หรือ Screen Time Management ก็คือความสามารถในการบริหารเวลา ให้เกิดความสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกชีวิตจริง แน่ะๆๆๆ กำลังมีปัญหานี้ใช่ไหมค่ะ ลองคิดดูสิค่ะ สมัยก่อนตอนที่เรายังไม่มีสมาร์ทโฟน เวลาทานข้าวกับครอบครัว หรือทานข้าวกับเพื่อนๆ เราจะนั่งล้อมวง คุยกับคนที่อยู่ตรงหน้าบนโต๊ะอาหาร แบบจริงๆจังๆ ใช่ไหมค่ะ แต่เดี๋ยวเนี้ย เรามีสมาร์ทโฟน ทำให้เกิดสังคมก้มหน้า แม้อยู่ใกล้กันแต่ก็เหมือนไม่ได้อยู่ด้วยกัน ทำให้หลายๆครอบครัวแทบจะไม่พูดคุยกันเลยค่ะ ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็ลดน้อยลง ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้อีกด้วยค่ะ ดังนั้นจัดสรรเวลาหน้าจอกันดีๆนะคะ การบลูลี่ หรือการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ เป็นปัญหาที่เราทุกคนต่างไม่ควรที่จะมองข้ามนะค่ะ มาดูวิธีการเอาตัวรอดจากไซเบอร์บลูลี่ กับทักษะที่ 3 กันค่ะ 3. ทักษะการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyberbullying Mamangement คือ ความสามารถในการรับรู้และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกไซเบอร์ ได้อย่างชาญฉลาด ในยุคนี้เรามักจะเห็นข่าวการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์กันอยู่บ่อยๆเลยนะคะ ซึ่งบางกรณีคนที่ไม่เข้าใจวิธีการรับมือในเรื่องนี้ก็อาจจะตอบโต้ด้วยวิธีการที่รุนแรง ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตเลยก็มีค่ะ วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือก็ คือ การที่เราไม่ตอบโต้เลย ไม่ให้ความสนใจ หรือถ้าจำเป็นต้องตอบโต้ก็ไม่ทำด้วยอารมณ์​ หรือ วิธีการที่รุนแรง ถึงแม้ว่าการบลูลี่นั้นจะร้ายแรงแค่ไหน แต่ควรตอบโต้อย่างมีสติด้วยวิธีการที่เหมาะสมนะคะ หรือถ้าสุดจะทน ทางที่ดีก็กดรีพอตรายงาน หรือบล็อคยูสเซอร์นั้นไปเลยค่ะ!! แต่ถ้ามันรุนแรงมากเกินกว่าจะควบคุมได้ ก็ให้รวบรวมหลักฐานแล้วเข้าแจ้งความเลยค่ะ เพราะการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมาก หลายๆประเทศได้ยกประเด็นนี้เป็นวาระแห่งชาติกันเลยนะคะ ฉะนั้นใจเค้าใจเราไม่บลูลี่ใส่กันนะคะ 4. ทักษะการรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Management คือ ความสามารถในการป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัยได้ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางไซเบอร์ได้ค่ะ ขอยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวที่หลายๆคนมองข้าม ก็คือ การตั้ง Password ให้ปลอดภัย ไม่ให้ถูกแฮกได้ง่ายๆ หรือคาดเดาได้ง่ายๆ มาดูกันหน่อย ว่ารหัสผ่าน Password ของเรานั้นอยู่ในกลุ่มรหัสยอดแย่รึเปล่านะ!!! นี้ค่ะ!! ถ้าคนไหนตั้ง Password แบบนี้อยู่ ก็ให้รีบเปลี่ยนเลยนะคะ เพราะ Password ง่ายเกินไปก็อาจจะถูกแฮกได้ง่ายๆค่ะ และยิ่งบางคนนอกจากตั้งให้คาดเดาได้ง่ายแล้ว ยังใช้ Password ชุดเดียวกันหมด รหัสเดียวใช้ทั้ง Facebook, E- Mail, Line หรือยาวๆรวมไปถึงรหัสของแอปธนาคารด้วย!! ได้ไปอันนึงก็เข้าได้ทุกบริการของเราล่ะค่ะ อันนี้ยิ่งไม่ควรทำเลยนะคะ และนอกความปลอดภัยแล้ว เราก็ต้องรักษาความเป็น ส่วนตัวบนโซเชียลด้วยนะคะ หลายคนคิดว่าบนโลกโซเชียล เป็นพื้นที่ส่วนตัว อยากจะพูดๆๆอะไรก็ได้ แต่ไม่นะคะ มันไม่ได้โลกสวยขนาดนั้น 5. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว หรือ Privacy Management คือ การมีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ทั้งของตนเอง และผู้อื่น รู้เท่าทันกลลวงทางอินเตอร์เน็ต และ กลลวงทางไซเบอร์ ค่ะ ในโลกจริง เราทุกคนก็มักมีพื้นที่ส่วนตัว ที่ไม่ต้องการเปิดเผยให้คนทั่วไปรู้จริงไหมค่ะ ในโลกออนไลน์เราก็ควรรักษาความเป็นส่วนตัวของเราให้ดีเหมือนในโลกขีวิตจริงด้วยนะคะ แต่หลายคน กลับไปเปิดเผยตัวเองมากเกินไปบนโลกออนไลน์ บางคนคิดว่า โซเชียลของตัวเองคือพื้นที่ส่วนตัว​จะโพสต์อะไรก็ได้ และหลายคนก็มักจะโพสต์ทุกเรื่องในชีวิต ทั้ง สุข เศร้า เหงา และ รัก รายงานความเป็นไปของชีวิตตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่ คนรอบข้าง คนในครอบครัว หรือ เพื่อนร่วมงานเท่านั้นที่เห็นนะคะ แต่คนที่เราไม่รู้จัก หรือ กลุ่มมิจฉาชีพ ก็เห็นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคนขี้เหงายิ่งต้องระวังนะคะ ขืนไปโพสต์ว่า เหงาจังอยู่บ้านคนเดียว แถมใส่ location บ้านไว้ด้วยแบบนี้ ระวังโจรจะมาเยี่ยมถึงบ้านนะคะ ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาศึกษาชีวิตเรา และก็จะหาโอกาสเข้ามาสร้างความวุ่นวายให้ชีวิตเราในที่สุดค่ะ บนโลกโซเซียล การคิดวิเคราะห์แยกแยะ ว่าข้อมูลที่ถูกต้อง และข้อมูลที่ผิดเป็นสิ่งจำเป็นมากนะคะ และนี่ก็คือทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลข้อที่ 6 ค่ะ การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) ความสามารถในการแยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์​ และข้อมูลที่มีเนื้อหาอันตราย และเข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่างๆในโลกไซเบอร์ เช่น ข่าวปลอม เว็บปลอม หรือ ภาพตัดต่อ เป็นต้น คนที่เราเห็นกันในเฟสบุค หรือในตามสื่อโซเซียลต่างๆ คนๆนั้นอาจจะไม่มีตัวตนอยู่จริงๆก็ได้ อาจจะเป็นตัวปลอมหรือเอารูปใครก็ไม่รู้มาทำเป็นรูปโปรไฟล์ แล้วก็สวมรอย เกิดการหลอกลวงแบบนี้ เป็นข่าวมันมานักต่อนักแล้วนะคะ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องวิจารณญาณ ในการตัดสินใจนะคะ และข่าวหรือข้อความที่แชร์กันบนโซเซียล บางครั้งเราก็ไม่ควรที่จะเชื่อเลยทันที ควรที่จะตรวจสอบที่มาที่ไปของข่าวนั้นๆก่อน เพราะอาจจะเป็นข่าวปลอมก็ได้ ส่วนวิธีเช็คข่าวจริงหรือปลอมนั้น เราเคยพูดถึงกันไปแล้วในตอนก่อนๆนะคะ ลองไปดูกันได้ที่ Youtube : iT24Hrs นะคะ ทราบกันหรือเปล่าค่ะ ว่าข้อมูลที่เราโพสต์ลงไป บนโลกออนไลน์แล้ว มันจะคงอยู่ตลอดไป แล้วก็อาจจะตามหลอกหลอน เราได้ในภายหลัง ดังนั้นเราจึงต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ กับทักษะที่ 7 ทักษะที่ 7 ในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ หรือ Digital Footprints คือ ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ อันนี้หลายๆคนอาจจะไม่เคยนึกถึงนะคะว่า สิ่งที่เราเคยโพสหรือแชร์ไว้ในยุคดิจิทัล มันจะยังคงอยู่ตลอดไป เพราะทุกคนสามารถนำสิ่งที่เราโพสต์​หรือแชร์ ไปแชร์ต่อในโลกออนไลน์ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่เราไม่สามารถตามไปลบได้ด้วย ซึ่งร่องรอยทางดิจิทัลนี้ ก็สามารถส่งผลทำลายชีวิตเรา ทำลายอนาคตเราได้เลย เช่น เรื่องการสมัครงาน หรือการทำงาน เพราะปัจจุบันนี้ หลายๆบริษัท ก่อนจะรับใครเข้าทำงาน เขาก็ไปลองดูพฤติกรรมของคนคนนั้นทางโซเชียลกันก่อน เพื่อจะได้รู้จักตัวตนของผู้สมัครงานมากขึ้น เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งผู้โพสต์เปิดเป็นสาธารณะ ก็แปลว่า ใครๆก็เข้าถึงได้จริงไหมล่ะ นี่ก็คือร่องรอยทางดิจิทัลอย่างหนึ่ง หรือแม้แต่พนักงานที่เอาความลับบริษัทไปเปิดเผย ทำให้บริษัทเกิดความเสียหาย ก็อาจถูกทำโทษหรือถูกไล่ออกก็ได้นะคะ เห็นมั๊ยล่ะคะว่าร่องรอยทางดิจิทัลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลมากเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นคิดให้ดีก่อนจะทิ้งร่องรอยอะไรลงไปในโลกออนไลน์นะคะ และก็มาถึงข้อสุดท้าย มาที่เรื่องดีๆกันบ้างค่ะ การแสดงความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน บนโลกออนไลน์​ ซึ่งเราก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆนะคะ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะช่วยทำให้สังคมโลกออนไลน์ น่าอยู่ยิ่งขึ้น กับ ทักษะพลเมืองดิจิทัลข้อที่ 8. ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม หรือ Digital Empathy คือ มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์​ มีปฎิสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง ทั้งในโลกออนไลน์และชีวิตจริง และเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยค่ะ ทำให้ทุกนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนโลกดิจิตอล ซึ่งในยุคที่โลกไร้พรมแดน การเห็นอกเห็นใจกันก็ไม่จำกัดระยะทาง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยนะคะ อย่างเหตุการ์ณไฟไหม้ป่าที่ออสเตรเลีย ที่มีคนแชร์ความรู้สึกเสียใจกับเหตุการ์ณที่เกิดขึ้น แสงความเห็นอกเห็นใจ มีการระดมทุนจากองค์กรต่างๆ เพื่อขอรับบริจาคผ่านโลกโซเซียล และยังมีอีกหลายเหตุการ์ณมากมายที่เกิดขึ้น จากการรวมพลังกันของ คนบนโลกโซเซียล เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันค่ะ เห็นมั๊ยล่ะค่ะ ในยุคดิจิทัลแบบทุกวันนี้ เด็กเอ๋ย เด็กดี ไม่ได้มีหน้าที่แค่ 10 อย่างเท่านั้นแล้วค่ะ แต่ต้องเป็น 10+8 ซึ่งก็คือเพิ่ม ทักษะอีก 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัลเข้ามานั้นเอง และก็ไม่ใช่แค่เด็กหรอกนะคะ ทั้งเด็กผู้ใหญ่ เราก็เข้ามาอยู่ในโลกดิจิทัลมาพอๆกันนี้ล่ะค่ะ การมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัล ก็เลยเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่เราจะได้อยู่ในโลกดิจิทัล ได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยนะคะ