การป้องกันตัวบนโลกดิจิทัล Digital Security ในบทนี้ เราจะมารู้จักกับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ มาเรียนดูวิธีการตรวจสอบเว็บไซต์ปลอมที่ควรระวังตัวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ การตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์ จุดแรกควรเริ่มต้นจากการสังเกตชื่อเว็บไซต์ ควรตรวจสอบว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น ชื่อเว็บ ชื่อองค์กร ชื่อหน่วยงาน ชื่อแบรนด์ สะกดถูกต้อง ไม่มีจุดผิด รวมทั้งจุดที่น่าสงสัย ตัวอย่างเช่น หากว่าเราเปิดเว็บไซต์หลอกลวง เช่น ไทยชนะ.โปร อันนี้เป็นเว็บไซต์ปลอม แทนที่จะเป็นเว็บไซต์จริงก็คือ ไทยชนะ.คอม อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือที่อยู่เว็บ เว็บที่ใช้ http แทน https ที่ส่วนต้นของ url อาจไม่มีความปลอดภัยเช่นกัน เพราะ https หรือ Hypertech Transfer Protocol Secure ได้ออกแบบมาสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล และการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การท่องเว็บที่ปรากฏ HTTPS ผู้ใช้งานก็จะมี มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นต่อการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ในขณะที่ HTTP ไม่มีขั้นตอนดังกล้าว เว็บไซต์ที่ดีต้องมีใบรับรอง SSL Certificate เมื่อตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ว่าถูกต้องนาจเจ้าถือแล้ว ลำดับต่อมาก็ควรตรวจสอบ SSL Certificate หรือใบรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะ SSL ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ช่วยยืนยันให้กับผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ปลอมหรือไม่ ถือเป็นวิธีที่สำคัญที่ช่วยให้เราจับผิดเว็บไซต์ปลอมได้มากขึ้นด้วย ตรวจหาไอคอนล็อก ควรสังเกตหน้าที่อยู่เว็บไซต์ หากพบสัญลักษณ์แม่กุญแจที่ล็อกอยู่ นั่นแสดงว่าเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่นั้น มีการใช้ HTTPS และเป็นเว็บไซต์ที่ปลอดภัย ไม่พบไอคอนแม่กุญแจ หรือมีสัญลักษณ์เตือนหรือเครื่องหมายกากบัตรอยู่ข้างข้าง นั่นแสดงว่าเว็บไซต์ดังเก่าไม่ได้ใช้ FTTPS ให้ถือว่าไม่ปลอดภัย ไม่ควรไว้วางใจเว็บไซต์ดังเก่า ตรวจสอบโดเมนเว็บไซต์ การตรวจสอบเจ้าของโดเมน สามารถบอกได้ว่า เว็บไซต์นั้นปลอดภัยหรือไม่ เพราะโดเมนของเว็บไซต์ที่เป็นทางการ จะสามารถตรวจสอบได้ว่า นี่อยู่จริง และสามารถค้นทาง เราสามารถค้นหารายละเอียดของโดเมนเว็บไซต์ได้จาก WHOIS ซึ่งเป็นฐานข้อมูลรายชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมด เราสามารถนำข้อมูลนี้มาใช้พิจารณาความน่าเทือถือของผู้ลงทะเบียนชื่อโดเมนนั้นได้ที่เว็บไซต์นี้ ตรวจสอบโซเชียลมีเดียและดีวิวของบริษัท หากเรากำลังใช้เว็บไซต์เอกชนหรือร้านค้าออนไลน์ ที่ตนเองกำลังสนใจซื้อ ขายและเปลี่ยนสินค้าอยู่ ให้เดารองตรวจสอบช่องทางติดต่อ สื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย หรือรีวิวของบริษัทหรือเว็บไซต์นั้น หรือพบว่าบริษัทดังเก่าไม่มีโซเชียลมีเดีย หรือช่องทางใดๆ หรืออาจจะมี แต่พบว่ามีผู้ติดตาม เทียมไม่กี่คน หรือพบการโพสต์เนื้อหาที่น่าสงสัย หรือมีสิ่งผิดปกติ รวมทั้งหากทำการอ่านดีวิวของผู้ใช้งาน หรือลูกค้าควรลิติอื่นบนโซเชียลมีเดีย แล้วพบว่า มีข้อล้องเรียน การบริการที่ไม่ดี มีปัญหาเลือกสินค้า หรือการจัดส่ง ให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ หรือร้านค้าออนไลน์ดังกล่าวทันที ตรวจสอบข้อผิดพลาดบนเว็บไซต์ ควรสังเกตและตรวจสอบข้อผิดพลาดบนเว็บไซต์ที่ใช้งาน ซึ่งเว็บไซต์ที่หลอกลวง มักไม่ได้หลับการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนการเผยแพร่ อาจทำให้ผู้ใช้งาน ที่มีความลอบคอบสามารถมองเห็นช่องโวลด์ หรือตรวจหาสิ่งหลอกลงได้ง่าย อาจเป็นการตรวจสอบการสะกดคำที่ผิด การตรวจสอบราคาของผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการที่เวิบไซต์นั้นนำเสนอ โดยเว็บไซต์ที่หลอกลวงหลายเว็บ มักนำเสนอราคาที่ต่ำมาก ทูกเกินกว่าราคาที่ประกดในท้องตลาด เพื่อจุงใจ รวมทั้งการบรรยายสรรพคุณคุณสมบัติที่ดีเกินจริง เมื่อพบข้อมูลเหล่านั้น เราก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง