รูปแบบของพลเมือง ตอนนี้เรามาดูรูปแบบพลเมืองกันนะจ๊ะ Bellamy อีกแล้ว ทุกคน “อาจารย์ หนูเบื่อชื่อนี้แล้ว” แต่ใช่จ่ะ Bellamy ได้แบ่งรูปแบบ ของการเป็นพลเมืองออกเป็น 2 รูปแบบหลัก 1. ได้แก่การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียม Citizenship as equal participation และการเป็นพลเมืองในสถานะทางกฎหมายที่เท่าเทียมกันนะคะ Citizenship as equal legal status นะคะ มาดูการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียมสักนิดนึงนะ จุดเริ่มต้นของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียมเนี่ย ย้อนไปในสมัย Ancient Greek นะคะ กรีกโบราณ ซึ่งเราก็ยังไม่เกิดอีกเช่นเดียวกันเนอะ งานเขียนของคุณ Aristotle นะคะ ที่มีชื่อว่า The Politics นะคะ ได้กล่าวถึงมนุษย์ว่าเป็นสัตว์การเมือง เน้นมากเลย Political Animals นะคะ ประเด็นสำคัญก็คือว่า โดยพื้นฐานแล้วเนี่ย มนุษย์อยู่ร่วมกันในชุมชนทางการเมืองนะคะ และนั่นหมายความว่ามนุษย์ที่อยู่ในนครรัฐนะคะ หรือเราเรียกว่า Polis หรือ city-state Polis นี่อันนี้มันเป็นศัพท์เนอะ แต่ว่าถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะเรียก city-state นครรัฐเนี่ยนะ เขาบอก มนุษย์ที่อยู่ในนครรัฐเท่านั้นเนี่ยที่ศักยภาพของมนุษย์ จะสามารถถูกรับรู้ได้อย่างเต็มที่นะคะ “หมายความว่าไง?” อันนี้พูดให้เห็นคร่าว ๆ สำหรับกลุ่มนี่ เผื่อนักศึกษาที่แบบเรียนสายวิทย์แล้วแบบ “อาจารย์ ฟังแล้วแบบ นี่มันคืออะไร?” คืออย่างนี้ หนูนึกภาพนะลูก อันนี้คือใน Aristotle เนี่ยเขาจะนึกภาพว่าเป็นแบบลักษณะ เหมือนนครรัฐ ซึ่งสมัยก่อนเนี่ย จำนวนคนเอยนะคะ ในโลกใบนี้มันไม่ได้เยอะขนาดนี้เนอะ แล้วความเป็นเมือง มันไม่ได้แบบ คุณนึกภาพปัจจุบัน นึกถึงเมือง นึกถึงกรุงเทพ หลับตานึกถึงถึงเชียงใหม่ มันยิ่งใหญ่มากใช่ไหม? สมัยก่อนกันบ้าง พูดถึงนครรัฐ แต่ทำไมต้องบอกว่า มนุษย์ที่อยู่ในนครรัฐเท่านั้น ที่ศักยภาพของมนุษย์จะสามารถถูกรับรู้ได้อย่างเต็มที่ นึกภาพ เขาบอกให้เปรียบเทียบกันว่า ถ้าหนูไปอยู่คนเดียวเลย ตัวเดียวบาทเดียวเลย เนี่ยนะคะ เกิดมา แม่อาจจะหนีไปแล้ว หนีไปไหนไม่รู้ แต่สมมติว่าอยู่รอดด้วยนะ หมาป่าเลี้ยงหรืออะไร แบบนี้นะคะ คือศักยภาพของเรามันไม่ถูกรับรู้อย่างเต็มที่ เพราะมันไม่มีมนุษย์ด้วยกันให้ไปคุย เขาก็ยังพูดกันอยู่เลยว่าสภาพแบบนี้นะคะ ถ้ามนุษย์ไม่เป็นสัตว์เนี่ย มนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าไปแล้ว ในสภาพแบบนี้เนอะ ดังนั้น สภาพที่เราจะถูกรับรู้ได้อย่างเต็มที่ ศักยภาพเราถูกโชว์นะคะ ก็คือนั่นแหละ ไปอยู่ในนครรัฐ ถ้าสมัยปัจจุบันก็คือต้องบอกว่าไปอยู่รัฐใช่ไหม? การจะเป็นพลเมืองของเอเธนส์ในสมัยโบราณได้เนี่ยนะ จะต้องเป็นชาย เดี๋ยวจะมีข้อสงสัยแล้ว จะต้องเป็นชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนะคะ เป็นชายของลำดับวงตระกูลที่รู้จักกันว่า เกิดมาในครอบครัวของชาวเอเธนส์ เป็นผู้ปกครองของครัวเรือนนะคะ เป็นนักรบที่ครอบครองอาวุธและมีศักยภาพในการต่อสู้ และเป็นนายของแรงงานอื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่า เป็นนายของทาส ในมุมมองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเป็นพลเมืองของเอเธนส์ในสมัยโบราณ ไม่ใช่ปัจจุบันนี่นะ ในสมัยโบราณนะเนี่ย มีเงื่อนไขหลายประการ ได้แก่ ต้องเป็นเพศชาย อันนี้ไม่แฟร์เลย ถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่นับนะ ต้องเป็นชาวเอเธนส์ที่ถือว่ากำเนิดมาจาก ครอบครัวของชาวเอเธนส์ จริง ๆ เขามีพลเมืองเยอะมากเลยนะ ในสมัยนั้นเนี่ย ที่ไม่ได้มาจากครอบครัวเอเธนส์ ก็ไม่เข้าข่ายนี้นะคะ และในเงื่อนไขของสถานภาพด้านสถานะทางสังคม จะเห็นได้ว่า กลุ่มที่ไม่ได้ถูกจัดลำดับว่าเป็นพลเมืองเอเธนส์ ได้แก่ สตรี วงเล็บ มาบอกหน่อย (อย่างไรก็ตามสตรีเอเธนส์ที่แต่งงานแล้ว) (จะถูกนับรวมว่าเป็นพลเมืองของเอเธนส์) (ด้วยเหตุผลของการลำดับวงตระกูลเฉย ๆ ) เด็กและเยาวชนผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ทาส ผู้อพยพ ในประเด็นของผู้อพยพ แม้จะย้ายเข้ามาอยู่ในนครรัฐเอเธนส์หลายชั่วอายุคน แต่ก็ไม่ได้ถูกนับให้เป็นพลเมืองอย่างเต็มรูปแบบ อันนี้เราว่าเศร้านะ เพราะว่ามีหน้าที่เหมือนกัน อ่าว ไม่นับฉันนะ แต่มีหน้าที่ที่จะต้องทำบางประการที่คล้ายกับหน้าที่พลเมือง ได้แก่ มาแล้ว พูดแล้วหงุดหงิด นี่เลย จ่ายภาษีและมีหน้าที่ทางการทหาร ความแฟร์อยู่ที่ไหนนะ สมัยนี้เป็นเรา เราต้องลุกขึ้นมาประท้วงแล้วใช่ไหม? “ไม่ให้สิทธิฉันเป็นพลเมืองเต็มรูปแบบ” “ให้ฉันจ่ายภาษียังไม่พอ ให้ฉันไปทำหน้าที่ทหารอีก” นะคะ ในบรรดาประชากรที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์เนี่ย มีประชากรที่ถูกนับว่าเป็นพลเมืองเอเธนส์อยู่ราว 3 ถึง 50,000 ราย “อาจารย์ ทำไมอาจารย์ไม่บอกตัวเลขให้เป๊ะ ๆ ” ต้องบอกอย่างนี้ สมัยก่อนนึกถึงสำมะโนครัวประชากร ยังไม่ละเอียด ยังไม่เลิศเท่าสมัยนี้นะจ๊ะ เขาก็ แต่ละหนังสือแต่ละเล่มยังเขียนไม่เท่ากันเลยนะ เชื่อไหม? เพราะว่านี่คือการคาดการณ์ 3 ถึง 50,000 ราย ในขณะที่จำนวนทาสเนี่ย มีสูงถึง 80,000 ถึง 100,000 ราย นี่ข้อมูลจากอาจารย์ Bellamy สรุปว่าไง? คนที่มิได้เป็นพลเมืองเยอะกว่า พลเมืองเยอะเลยนะคะ สิทธิในการเป็นพลเมืองของชาวเอเธนส์ คือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับนครรัฐ พลเมืองนครรัฐเอเธนส์สามารถมีส่วนร่วมได้นะคะ โดยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสภา ที่ประชุมที่มีการพบปะ ปีละกว่า 40 ครั้ง พบเยอะมากนะคะ ซึ่งเป็นเรื่องดีต้องชื่นชม โดยแต่ละครั้ง จะต้องมีผู้เข้าร่วม 6,000 คน สำหรับการประชุมแบบเต็มคณะ กระบวนการตัดสินใจเนี่ยนะคะ เป็นสิทธิ์อันสำคัญ ของสมาชิกที่มีการตัดสินใจตั้งแต่ประเด็น การเข้าสู่สงคราม การสร้างสันติภาพ Peace นะคะ และการตัดสินใจในการรวมตัวของพันธมิตร ระหว่างเอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ การจัดเก็บภาษีนะคะ นี่คือแค่ยกตัวอย่างแบบน้ำจิ้มเท่านั้นนะ สำหรับชาวเอเธนส์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์เพิ่มแล้ว ยินดีด้วยจ่ะ คุณได้ไปต่อ อีกสิทธิ์ที่ได้รับนะคะ ก็คือการทำหน้าที่เป็นลูกขุน ซึ่งจะมีตั้งแต่คณะลูกขุนจำนวน 201 ถึง 501 คนนะคะ นอกจากนี้ยังจะต้องทำหน้าที่ในการรับราชการ ซึ่งมีระยะเวลานะ ราว ๆ 1 ถึง 2 ปี ซึ่งมีเพียงบางตำแหน่งนะ ที่จะเป็นการคัดเลือก คือส่วนใหญ่นี่ คุณสมบัติครบ มาเลย แต่มีบางตำแหน่งนะ ที่ต้องคัดเลือก เช่น ตำแหน่งนายพล ซึ่งคุณก็พอมองนี้อาจจะเข้าใจได้เนอะ ซึ่งถูกคัดเลือกโดยสภาที่ประชุมนะคะ กระบวนการให้ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการเข้าไปปฏิบัติ หน้าที่ในนามนครรัฐเนี่ย มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร? เพื่อให้พลเมืองได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการใช้อำนาจทางการเมือง นี่ก็เป็นจากมุมมองหนึ่งของอาจารย์ Bellamy นะ มาดูข้อสังเกตอีกประการของอาจารย์ Bellamy ก็คือว่า ถึงแม้สิทธิในการเป็นพลเมืองของเอเธนส์เนี่ย จะถือเป็นเอกสิทธิสำหรับคนกลุ่มน้อยจริง ๆ นะจ๊ะ ที่อยู่ในเอเธนส์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการควบคุมการทำงานของภาครัฐนั้น ถูกขับเคลื่อนโดยพลเมืองเหล่านี้นะคะ การเป็นพลเมืองที่มีความเท่าเทียมกันใน สถานะทางกฎหมาย มาแล้วอีกอันนึง Citizenship as Equal Legal Status นะคะ สิ่งที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างสังคมแบบ กรีกโบราณและสาธารณรัฐโรมัน กระบวนการแบ่งแยกทางชนชั้น พลเมืองในรูปแบบอุดมคติของกรีก คือการไม่มีการแบ่งชนชั้น ในขณะที่สาธารณรัฐโรมันยังคงเป็นการแบ่งชนชั้น ระหว่างสามัญชนนะคะ แล้วก็ขุนนาง คุณอาจจะเถียงก็ได้นะว่า “อ่าว ไหนไม่มีแบ่งชนชั้น แต่เมื่อกี้ทำไมทาส ทำไม อะไรอย่างนี้เนอะ” แต่ว่าในงานชิ้นนี้นะ เขาก็จะบอกว่า อย่างของโรมันเนี่ย มันชัดมาก การแบ่งระหว่างสามัญชนและขุนนางนะคะ ในสมัยโรมันเนี่ย สังคมที่ถูกแบ่งออกเป็นชนชั้น อย่างชัดเจน ได้แก่ สังคมชนชั้นบน และสังคมชนชั้นล่าง ทั้งนี้บุคคลที่จัดอยู่ในสังคมชนชั้นบนเนี่ย ได้แก่ จักรพรรดิ สมาชิกสภาสูง ทหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้พิพากษา สมาชิกสภาเมือง และนักบวชนะจ๊ะ สังคมชนชั้นล่างคือบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในสังคมชนชั้นบนนะคะ การจัดบุคคลตามสถานะทางสังคมเศรษฐกิจพบว่า มีชนชั้นบนอยู่บนเพียงประมาณร้อยละ 0.5 ในขณะที่ประมาณร้อยละ 99.5 จัดเป็นชนชั้นล่าง บทบาทของสตรีโรมันเนี่ย มาพูดสักหน่อย มีสถานะไม่ต่างจากสตรีเอเธนส์ คือมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายใน เคหะสถานบ้านเรือนของตน และไม่มีบทบาทอื่นใดในทางการเมือง มีความเชื่อว่า พระเจ้าได้จัดสรรแบ่งหน้าที่ของผู้ชายและผู้หญิง ให้แยกออกจากกันนะคะ โดยผู้หญิงมีหน้าที่ภายในบ้าน ในขณะที่ผู้ชายมีหน้าที่ความรับผิดชอบนอกบ้านทั้งหมด พูดมาถึงตรงนี้ ดิฉันเชื่อว่าสายเฟมินิสต์ขัดใจแล้วแม่นะคะ แต่ว่าอันนี้เป็นเหตุการณ์ในอดีตนะคะ อันนี้โอเค? เราไปต่อกันดีกว่านะคะ การได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นพลเมืองโรมัน ในระยะแรกนั้น ก็คือไม่แตกต่างเลยนะ จากพลเมืองกรีกโบราณเนอะ บุคคลนั้นจะต้องเป็นพลเมืองโรมัน โดยสืบเชื้อสายมาจากครอบครัวโรมัน โดยจะต้องไม่ได้อยู่ในสภาวะของทาส ทั้งตนเองและครอบครัวนะจ๊ะ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันแผ่ขยายออกไป นิยามของการเป็นพลเมืองก็มีการเปลี่ยนแปลงนะคะ โดยเมื่อขอบเขตอาณาจักรเนี่ย ขยายไปแล้ว ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่โรมันเข้าครอบครอง จะได้สิทธิในการเป็นพลเมืองโรมันในส่วนของ รูปแบบการปกครอง ก็ยังจะไปใช้รูปแบบ ยังคงเนอะ ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบเดิม ก่อนที่อาณาจักรโรมันจะแผ่ขยายอิทธิพลออกไป และยังถือเป็นพลเมืองของพื้นที่ดั้งเดิม “หมายความว่าอะไร?” หมายความว่าพลเมืองเนี่ย ถือสิทธิ์การเป็นพลเมืองของสองเขตพื้นที่ โดยรูปแบบดังกล่าว การเป็นพลเมืองถือเป็นรูปแบบทางการเป็น พลเมืองตามกฎหมาย เป็นตามกฎหมาย มากกว่าการเป็นพลเมืองในมิติทางการเมือง ซึ่งจะมีศัพท์นะคะ ที่เรียกว่า จะอ่านถูกไหมเนี่ยทุกคน Civitas Sine Suffragio นะคะ ซึ่งตัวคำว่า Suffragio เนี่ย ต่อมาเนี่ย เวลาเราพูดถึงเรื่องการเลือกตั้ง แล้วมันจะมีคำว่า Universal suffrage ก็คือหมายถึงว่า ถ้าบอก Universal suffrage หมายถึงหญิงและชายสามารถที่จะไปเลือกตั้งได้นะคะ ไม่เป็นไร ตรงนี้ไม่ออกสอบ ผ่านไปนะคะ เฉพาะ Civitas เนี่ยนะคะ หรืออีกนัยหนึ่งนะคะ คือ มาถึงช่วงแปลแล้วที่รัก หรืออีกนัยหนึ่งคือการเป็นพลเมือง โดยไม่มีสิทธิ์ในการโหวต เศร้าแล้วทีนี้นะ การเป็นพลเมือง มาทีนี้ ในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่นะคะ มาดูงานเขียนของ T.H. Marshall ทุกคนแบบ “ตอนนี้ไม่มีอาจารย์ Richard Bellamy แล้วหรออาจารย์?” มา T.H. Marshall นะคะ แล้วก็ Stein Rocken นะคะ ถือเป็นงานเขียนที่ใช้อธิบาย ประเด็นของการเป็นพลเมือง ในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่นะคะ โดยพลเมืองคือผลผลิตจากกระบวนที่เกี่ยวข้องกัน ของการสร้างรัฐ การเกิดขึ้นของสังคมการค้าและอุตสาหกรรม และการสร้างจิตสำนึกของชาติ (อาจารย์ Bellamy) กลับมาอีกแล้วนะคะ โดยในกระบวนการสร้างรัฐเนี่ย เกิดการสร้างระบบรวมกันโดยชนชั้นนำ ในด้านการบริหาร การทหาร และวัฒนธรรม โดยมาพร้อมกับการรวมดินแดน ระบบราชการของรัฐ และโครงสร้างทางด้านกฎหมาย มาดูระยะที่ 2 เกิดการสร้างเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรม กระบวนการนี้ก่อให้เกิดการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ของสินค้าสาธารณะตามความต้องการตลาดเศรษฐกิจ ระยะนี้เกิดการสร้างการหลอมรวมของระบบการขนส่ง ระบบเงินตรา และระบบกฎหมายที่ใช้ร่วมกันนะคะ ระยะที่ 3 กระบวนการสร้างชาติ มาแล้วนะคะ เกี่ยวข้องกับการสร้างมวลชนให้มีจิตสำนึกของ ชาติที่เหมาะสมกับตลาด และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยวิธีการศึกษาภาคบังคับ การกำหนดมาตรฐานทางภาษา สื่อมวลชน และกองทัพ อันนี้น่าสนใจไหม? ถ้าลองไปศึกษาเพิ่มเติมนี่เราว่ารายละเอียด ได้อีกเยอะเลยนะคะ T.H. Marshall นะคะ ก็ยกตัวอย่าง ของกระบวนการการสร้างการเป็นพลเมือง ของคนบริติชนะคะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลาด้วยกันนะคะ ช่วงแรกศตวรรษที่ 17 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 นะคะ มีการควบรวมของสิทธินะคะ พลเมืองที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม เช่น การมีอิสระภาพในการเป็นเจ้าของที่ดิน การแลกเปลี่ยนสินค้าบริการและแรงงานผ่านระบบตลาด มีความมีอิสระในการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมกับโบสถ์ และการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในประเด็นต่าง ๆ ช่วงที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงระยะแรกของศตวรรษที่ 20 ช่วงนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ทางการเมืองในการเลือกตั้ง และการเป็นผู้รับสมัครการเลือกตั้ง โดยสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเริ่มต้นจาก ผู้เป็นเจ้าของที่ดินไปสู่ผู้ขาย และท้ายสุดก็มีการขยายสิทธิ์ ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมการทางการเมืองนะคะ ช่วงที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายศตวรรษที่ 19 ไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 ช่วงนี้ก็เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของสิทธิทางสังคม เช่น ประเด็นในด้านสวัสดิการทางเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเริ่มต้นจากสวัสดิการในระดับต่ำ ไปจนถึงการขยายลักษณะของสวัสดิการ ให้ครอบคลุมหลากหลายประเด็น ยกตัวอย่างเช่น การขยายโอกาสผ่านการให้สวัสดิการทางการศึกษา สวัสดิการทางด้านสุขภาพ และสวัสดิการในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับการเกษียณอายุนะคะ เอาล่ะ การได้มาซึ่งการเป็นพลเมือง ในยุคสมัยใหม่ตามหลักกฎหมาย พบว่าสามารถแบ่งการได้รับรองสัญชาติเนี่ยนะคะ ของบุคคลจากรัฐ ตามการกำเนิด ตามการกำเนิดนะ ออกเป็น 2 รูปแบบ อันแรกจะเรียกว่า Jus soli นะคะ หมายถึงการเกิดภายในดินแดนของประเทศหนึ่ง ๆ ในรูปแบบ Jus soli เนี่ย บุคคลย่อมได้สัญชาติโดยยึดหลัก ดินแดนที่เกิดเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างเช่นเราเกิดในรัฐนี้ ถ้ารัฐนี้ใช้หลัก Jus soli หนูเกิดนี่ปุ๊ป “สวัสดีค่ะ หนูเป็นพลเมืองของรัฐนั้น” นะคะ รูปแบบที่ 2 คือหลัก ๆ เขามีแค่ 2 รูปแบบเท่านั้นที่รัก 2. Jus sanguinis อ่านปาก Jus sanguinis นะคะ หมายถึงการสืบสันดานโลหิตนะคะ กรีดเลือดออกมานะคะ ในรูปแบบ Jus sanguinis เนี่ย บุคคลย่อมได้สัญชาติผ่านการสืบสายโลหิตนะคะ ทั้งนี้ การได้รับสัญชาติในรัฐใดรัฐหนึ่งเนี่ย เราจะใช้ Jus soli เป็นหลัก? หรือใช้ Jus sanguinis เป็นหลัก? หรือจะใช้ทั้ง Jus soli และ Jus sanguinis? นะคะ เอาล่ะ อันนี้ต้องอธิบายให้เคลียร์ ตัวอย่างเฉพาะกรณี Jus soli “หมายความว่าอะไรอาจารย์? ฝรั่งเศสไม่มี Jus sanguinis หรอ?” ไม่ จะบอกแค่ว่า ฝรั่งเศสเขามีมุมมองเฉพาะกรณีของ Jus soli อย่างไร? อธิบายไปแล้วนะ เฉพาะ Jus soli จะเอายกตัวอย่างมาให้ดูนะคะ กรณีของประเทศฝรั่งเศสเนี่ย เด็กที่เกิดในประเทศฝรั่งเศสจะได้สิทธิ ในการเป็นพลเมืองฝรั่งเศส ถึงแม้จะไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาเป็นบุคคลไร้สัญชาติ หรือเกิดในประเทศฝรั่งเศส โดยมีบิดาหรือมารดาอย่างน้อยคนใดคนหนึ่งในฝรั่งเศส ที่เกิดในฝรั่งเศสจะได้รับสิทธิ ในการเป็นพลเมืองฝรั่งเศสนะคะ ถัดไป ตัวอย่างเฉพาะกรณี Jus sanguinis นะคะ อันนี้จะพาไปดูที่เยอรมนีนะคะ ที่เยอรมนีเนี่ยจะได้รับสิทธิความเป็นพลเมืองเยอรมัน บุตรจะต้องเกิดจากผู้ปกครองที่เป็นเยอรมัน กรีดเลือดแล้วใช่ไหม? Jus sanguinis นะคะ ทีนี้ถัดไป กรณีอื่น ๆ นะคะ เด็กจะได้รับสิทธิในการเป็นพลเมืองเยอรมัน ต่อเมื่อบิดาหรือมารดามีถิ่นที่พักอาศัยประจำอยู่ใน เยอรมนีเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 ปี นอกจากนี้บิดาหรือมารดา จะต้องมีใบอนุญาตให้สามารถอยู่อาศัยในเยอรมนี หรือประเทศในสหภาพยุโรปแบบถาวร หรือเป็นพลเมืองของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปนะจ๊ะ ตัวอย่างเฉพาะอีกเช่นเดียวกัน กรณีของประเทศกรีซ เด็กจะได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองประเทศกรีซเมื่อ 1.มีบิดาหรือมารดาเป็นคนกรีก ก็คือยึดหลักกรีดเลือด ยึดหลัก Jus sanguinis ห้ามไปกรีดตามเน่อ อันนี้พูดให้เห็นภาพนะคะ 2.เด็กเกิดในกรีซนะคะ โดยบิดาหรือมารดา เกิดในประเทศกรีซและอาศัยอยู่ เป็นการถาวรในประเทศกรีซ หรือเด็กเกิดในประเทศกรีซโดยไม่ได้ถือสัญชาติอื่นใด หรือเด็กถือกำเนิดในกรีซโดยไม่มีสัญชาติ ก็ยึดหลัก Jus soli เวลาสอบ เราจะบอกทุกท่านเป็นทริค เราไม่ค่อยจำหรอก Jus soli เราจำเป็น Jus soil ก็คือเนียนว่ามันสะกดกลับไปเนอะ Soil ก็คือนึกถึงแบบดินอย่างนี้เนอะ เผื่อเวลาสอบจะได้จำได้นะคะ นอกเหนือไปจากการได้มาซึ่งเป็นพลเมือง โดยการเกิดแล้ว บุคคลย่อมสามารถเป็นพลเมืองของรัฐใดรัฐหนึ่ง ผ่านเงื่อนไขอื่น ๆ อีกนะ เช่น การแปลงสัญชาติ หรือการโอนสัญชาติ หรือที่เราเรียกว่า Naturalization นะคะ อะไรคือ Naturalization? Naturalization คือกระบวนการที่ภาครัฐเนี่ยนะคะ ได้มอบสัญชาติให้แก่พลเมืองต่างชาติ “เอาไปจ้า” นะคะ หรือมอบสัญชาติให้กับบุคคลที่ โควทนี้นะคะ “แต่เดิมไม่ได้รับสัญชาติของรัฐนั้น ๆ มาตั้งแต่กำเนิด” นะคะ โดยการมอบสัญชาติให้จะกระทำต่อเมื่อบุคคลดังกล่าว มีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของรัฐ โดยปกติแล้ว Naturalization จะเกิดขึ้น หลังจากที่พลเมืองต่างชาติได้อยู่อาศัยในรัฐ จนได้รับสิทธิให้เป็น Permanent Resident หรือปกติเราจะเรียกว่าเป็น PR นะคะ หรือสิทธิสามารถอยู่อาศัยภายในรัฐได้อย่างถาวร แต่ยังไม่ได้รับสิทธิที่เท่า เทียบเท่านะ กับพลเมือง คือเป็น PR ก่อน ยังไม่ได้เป็น Citizen นะคะ หลังจากการได้ดำรงสิทธิ Permanent Resident มาจนครบระยะเวลาที่กำหนด หลายรัฐนะ พอเป็น PR อยู่อีกสักไม่นานนะ ไม่นานมากนะ ก็จะให้เริ่มแล้ว พอครบกำหนดปุ๊ป บุคคลดังกล่าวมีสิทธิในการ ขอสัญชาติเป็นพลเมืองของรัฐนั้น ๆ ได้นะคะ มาดูอีกอันนึงนะคะ อันนี้อาจารย์ก็ไปดูกฎหมาย จากแต่ละประเทศนะคะ การแต่งงานเนี่ย ในหลายรัฐเนี่ย เขาจะเขียนไว้ในกฎหมายเขาเลยนะว่า คือการ Naturalization ผ่านการแต่งงาน ในหลาย ๆ รัฐ เขาจะเขียนเช่นนั้นเลย การแต่งงานเนี่ยถือเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถให้บุคคลมีสิทธิในการได้รับสัญชาติตามคู่สมรส สวัสดีจ้า สายฝอ สายฝอ ในทางปฏิบัติเนี่ย มีบุคคลต่างชาติสมรสเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติ เอาล่ะ มีข้อลบนิดนึงนะคะ เกิดเป็นธุรกิจรับจ้างสมรสโดยสามารถ เลือกคู่สมรสผ่านนายหน้า อันนี้อาจารย์ไม่แนะนำนะคะ ยกตัวอย่าง คือในสหรัฐอเมริกาเนี่ย ถ้าพบนะ ว่ามีการสมรสหลอก เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการอยู่อาศัยในประเทศ จะต้องถูกดำเนินคดี และที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการรับจ้าง อำนวยความสะดวกในการสมรสหลอกนะ ให้แก่ผู้ที่ต้องการเข้ามายังประเทศ มีหลายประเทศเลยที่จะดำเนินคดี เพราะฉะนั้นอย่าหาทำนะ ต้องรักด้วยใจจริง อะไรประมาณนี้นะคะ ถัดไปนะคะ การลงทุนซื้อความเป็นพลเมืองนะคะ Citizenship นะคะ พูดเร็ว ๆ สิ เดี๋ยวจะไม่สุภาพ Citizenship by Investment นะคะ ในบางกรณี รัฐบาลต้องการสร้างรายได้ให้แก่รัฐ พูดกันตามตรงนะ โดยการยื่นข้อเสนอให้แก่กลุ่มผู้มีทรัพย์สินสูง จากทั่วโลกเข้ามาถือสัญชาติ โดยการถือสัญชาติอื่นเนี่ย อาจจะก่อให้เกิดประโยชน์ ในหลากหลายทางนะคะ เช่น ประโยชน์ทางด้านภาษี ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย ประโยชน์ในด้านการลงทุนนะคะ ก็ต้องบอกว่าเราก็จะต้องเสียเงินเสียทอง ไปนั่นแหละ ในกรณีนี้ Citizenship by Investment เสียเงินเสียทองนะ แลกกับการกรุยทางไปสู่การเป็นพลเมืองของรัฐ ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่ว่าพลเมืองในประเทศเขาจะเห็นด้วยนะ ในหลายกรณี ในการลงทุนเนี่ยนะคะ พลเมืองในรัฐเองก็ มีการทำสำรวจแล้วก็บอกว่า “เราไม่เห็นด้วยในกรณีนี้” นะคะ แต่ว่า ถามว่ารัฐเนี่ย ทำไปทำไม? สิ่งที่รัฐทำ อย่างที่บอกค่ะ สร้างรายได้ แต่มันก็มีคำถามขึ้นมาอีกว่า “พลเมืองเนี่ย เป็นพลเมืองแบบไหนล่ะ?” คนที่จะมาซื้อเนี่ย เพื่อที่จะได้สิทธิการเป็นพลเมือง เป็นคนแบบไหน? หนึ่ง มันก็มีข้อที่แบบถกเถียงว่า หนึ่ง จะเป็นกลุ่มที่ฟอกเงินหรือเปล่า? หรือเงินที่ได้มาซึ่งการซื้อสิทธิ ในการเป็นพลเมืองเนี่ย เป็นเงินแบบ เงินสีเทาหรือเปล่า? อะไรแบบนี้นะคะ หรือว่ามีการ เหมือนหลบคดีอะไรมาหรือเปล่า? มันก็จะมีการตั้งคำถาม แต่อย่าลืมอีกมุมนึง มันมีทั้งมุมบวกลบเนอะ อีกมุมนึงที่เราอยากให้สังเกตก็คือว่า คือบางคนเนี่ย รวย แต่ว่าเกิดมาแล้วเป็นพลเมืองของรัฐ ที่อาจจะเกิดสงครามกลางเมือง ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้อง “ไม่ไหวแล้ว” นะคะ อยากแบบ “ฉันขอซื้อสิทธิแล้วกัน เพราะฉันอยากที่จะไปอยู่รัฐนั้น รัฐนี้” ก็ซื้อสิทธิในการเป็นพลเมืองนะคะ เป็นต้น